หมากล้อมคู่การศึกษา
ปัจจุบันหลายสถานศึกษาได้ให้ความสำคัญ และสนับสนุนให้เรียนหมากล้อมกันอย่างแพร่หลาย ผู้ปกครองสนใจ และค้นหากิจกรรมที่ช่วยฝึกทักษะทางปัญญาและสมาธิให้แก่ลูกหลาน เพื่อส่งผลให้เด็กๆ มีพัฒนาการทางการเรียนที่ดีหรือทักษะที่ช่วยส่งเสริมต่อการเรียนรู้และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต
“หมากล้อม” หรือ “โกะ” มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นศิลปะโบราณของจีนสืบทอดมานานกว่าสามพันปี จนถึงปัจจุบัน หมากล้อมเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ ทำให้ผู้เรียน ได้ใช้ทักษะอย่างรอบด้าน ตลอดจนการวางแผนด้านกลยุทธ์ การคำนวณ และจะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญาโดยตรง ตลอดจนเป็นการฝึกสมาธิอย่างดีเยี่ยม
หมากล้อม มีกติกาการเล่นเรียบง่าย แต่ถ้าจะเล่นให้เก่งนั้นยาก ต้องฝึกกันทั้งชีวิต การแข่งขันกีฬาหมากล้อมจะมีการวัดระดับฝีมือเป็นมาตรฐานสากล แบบมืออาชีพ ผู้เล่นจะเริ่มต้นจาก 30 คิว (Kyu) และไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 1 คิว และเก่งขึ้นจนถึงระดับ 1 ดั้ง ไปสูงสุดที่ระดับ 7 ดั้ง และไต่เต้าไปจนถึงระดับมืออาชีพ 9 ดั้ง ซึ่งผู้เล่นสามารถสอบวัดระดับเพื่อเป็นมืออาชีพได้ในระดับสากล หรือในต่างประเทศ ผู้เล่นจึงต้องมีการฝึกฝนอย่างมากและต่อเนื่อง จนถึงขั้นสูงสุด
เทคนิคพิเศษสำหรับหมากล้อม
โจเซกิ คือ การแบ่งพื้นที่บริเวณมุมกระดาน ของผู้เล่นทั้งสองฝ่าย โดยจะเริ่มที่ช่วงต้นเกม เพื่อชิงความได้เปรียบ ซึ่งก็มีรูปในหลายๆ ลักษณะที่ควรศึกษากัน
ที่มา : สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย